ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ไม่ต้องสร้างการเชื่อมต่อขึ้นมา (Connectionless)เหมาะสำหรับการทำ DHCP โดยจะมีพอร์ตต้นทางหมายเลข 67 และพอร์ตปลายทาง68 เอาไว้ติดต่อสื่อสารกับระหว่างเครื่อง DHCP Server กับ DHCP Clientจากนั้นเครื่อง DHCP Server จะแสดงตัวตนด้วยการแสดงไอพีแอดเดรสให้ทราบและค้นหาหมายเลขไอพีแอดเดรสจากฐานข้อมูลในเครื่องเพื่อไม่ให้ซ้ำกันแล้วส่งเมสเสจ DHCP Offer (IP Lease Offer) กลับไปให้ไคลเอนต์ที่ขอมา
เมื่อเครื่องไคลเอนต์ได้รับหมายเลขไอพีแอดเดรสแล้วทางไคลเอนต์จะส่งสัญญาณตอบกลับ DHCP Request มาให้ทราบ
หลังจากที่เครื่อง DHCP Server ได้รับสัญญาณ DHCP Request
จะส่งสัญญาณ DHCP Ack (IP Lease Acknowledgement)กลับไปยังเครื่องไคลเอนต์เพื่อให้เริ่มใช้ไอพีแอดเดรสหมายเลขนี้ได้ (และ DHCPServer จะเก็บหมายเลขไอพีแอดเดรสนั้นเอาไว้ไม่ให้เครื่องอื่นใช้)โดยกำหนดระยะเวลาในการใช้ IP ให้ทราบคือ IP Address Lease Time และSubnet Mask DHCP เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบมาให้ใช้งานแทน BOOTPเนื่องจากมีความสามารถสูงกว่าหลายด้าน ถ้าในองค์กรมีระบบเครือข่ายไม่ใหญ่มาก(ไม่ใช้ Router ในการทำงาน)การออกแบบกำหนดสโคปหรือช่วงการใช้ไอพีแอดเดรสก็ไม่ยุ่งยาก
แต่ถ้าเป็นเครือข่ายที่มีขนาดกลาง – ใหญ่ มีการแบ่งเครือข่ายย่อย (subnet) และใช้Router ทำงานด้วย ควรจะพิจารณาองค์ประกอบต่อไปนี้
– ต้องมีการสงวนไอพีแอดเดรสบางส่วนเอาไว้สำหรับเครื่อง DHCP Server,DNS Server, WINS Server รวมทั้ง Router
– ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายย่อย (Subnet) ที่มีความเร็วต่ำผ่าน Dial –up นั้น ควรจะมี DHCP Server ในแต่ละเครือข่ายย่อยไปเลย โดยมี DHCP RelayAgents ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าฟังการร้องขอไอพีแอดเดรสจากไคลเอนต์เพื่อส่งต่อไปยังDHCP Server ตัวจริง
– สามารถใช้ Router ที่สนับสนุนมาตรฐาน RFC 1542 หรือ BOOTPในการส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายย่อยได้ (เป็นการใช้งานแทน DHCP Relay
Agents)Windows Server จะกำหนดให้ Active Directoryเป็นตัวจัดเก็บเฉพาะรายชื่อของ DHCP Server ที่ได้รับอนุญาตเอาไว้เป็นเหตุให้การเริ่มทำงานทุกครั้ง DHCP Serverจะต้องเข้ามาตรวจสอบรายชื่อตัวเองใน Active Directory ว่ามีหรือไม่
ถ้าไม่มีจะทำให้ไม่สามารถให้บริการของ DHCP ได้และข้อควรระวังอีกประการ คือเครื่อง DHCP Server แบบติดตั้งแยก (Stand – alone) จะไม่สามารถทำงานร่วมกับDHCP Server บนโดเมนได้